Thursday, September 14, 2006

ความเป็นมาของคำว่า "นาถ" ใน "พระบรมราชินีนาถ" (เชิงอรรถ ๑๑-๑๗)



(๑๑) รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑๗/๒๔๙๙ (สามัญ) ชุดที่ ๑ วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ กันยายน ๒๔๙๙ น่าสนใจว่า หนังสือพิมพ์สยามนิกร ฉบับวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๔๙๙ ได้รายงานการเปลี่ยนตัวผู้สำเร็จราชการ โดยพาดหัวตัวใหญ่ว่า “สั่งเปลี่ยนผู้สำเร็จฯขณะผนวช” และพาดหัวตัวรองพร้อมข่าวดังนี้ (ขอให้สังเกตภาษาที่ใช้กับในหลวงสมัยนั้น)

ให้ราชินีเป็นแทนกรมหมื่นพิทยลาภ
อ้างมีภาระกิจมาก – ไม่เหมาะสม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงมีดำรัสให้ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เข้าเฝ้าเมื่อเช้าวานนี้ และทรงแจ้งพระประสงค์ว่า พระองค์ขอแต่งตั้งพระบรมราชินีสิริกิติ์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แทนกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากรตามที่ได้แต่งตั้งไว้เดิม ทรงอ้างว่า กรมหมื่นพิทยลาภมีภาระกิจมาก

ทั้งนี้จอมพล ป.พิบูลสงครามแถลงแก่ผู้สื่อข่าวหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันวานนี้ว่า ทางรัฐบาลไม่ขัดข้องในพระราชประสงค์ครั้งนี้ เพราะได้เคยมีตัวอย่างมาแล้วในสมัยรัชกาลที่ ๕

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดวันผนวช วันที่ ๒๒ ตุลาคม และจะทรงลาผนวชวันที่ ๕ พฤศจิกายน ทั้งนี้ทรงตั้งพระราชหฤทัยอุทิศส่วนกุศลให้พระราชบิดา พระเชษฐา และเพื่อพศกนิกรชาวไทยด้วย
ผมไม่แน่ใจว่า ทำไมสยามนิกรจึงรายงานว่า ในหลวงแสดงพระประสงค์เปลี่ยนผู้สำเร็จ โดยที่ “ทรงอ้างว่า กรมหมื่นพิทยลาภมีภาระกิจมาก” เพราะไม่มีหลักฐานอื่นให้เหตุผลนี้ ดูจากรายงาน นอกจากคำแถลงของจอมพลแล้ว หนังสือพิมพ์ก็ไม่ได้มีแหล่งข่าวอื่นอีก หรือจอมพลแถลงข่าวไปเช่นนั้นจริงๆ? ถ้าใช่ ทำไม? เพื่อพยายามทำให้การเปลี่ยนที่ค่อนข้างไม่ปรกตินี้ ดูมีเหตุผลมากขึ้น?

(๑๒) หัวข้อการประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ ๔๔/๒๔๙๙ วันพุธที่ ๑๙ กันยายน ๒๔๙๙ ดังที่เห็นจากหัวข้อการประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ ๑๗ กันยายน ที่อ้างถึงก่อนหน้านี้ เรื่องวันและระยะเวลาผนวชนี้ ได้ทรงแจ้งให้จอมพลทราบด้วยวาจาแล้วตั้งแต่วันที่ ๑๗

(๑๓) จดหมายด่วนมาก ที่ สผ.๔๑๔๔/๒๔๙๙ ลงวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๔๙๙ นายกรัฐมนตีถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง กำหนดวันทรงผนวชของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตัวบทของจดหมายมีอยู่ในรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑๘/๒๔๙๙ (สามัญ) ชุดที่ ๑ วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ กันยายน ๒๔๙๙ ด้วย ความจริง สภาได้รับทราบกำหนดวันและเวลานี้จากการชี้แจงด้วยวาจาของจอมพล ป.แล้วในการประชุมวันที่ ๑๘ “เมื่อวานซืนนี้ท่านรับสั่งบอกจะทรงผนวช ๒๒ แล้วก็จะลาผนวชวันที่ ๕ พฤศจิกายน” ผมคิดว่าจอมพลคงพูดผิด (หรือรายงานผิด) ที่ถูกคือ “เมื่อวานนี้” (๑๗) ไม่ใช่ “เมื่อวานซืนนี้” (๑๖)

(๑๔) จดหมายที่ สร.๑๖๙๐/๒๔๙๙ ลงวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๔๙๙ หม่อมเจ้านิกรเทวัญ เทวกุล ราชเลขาธิการ ถึงนายกรัฐมนตรี เรื่อง ประกาศแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

(๑๕) “ประกาศแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์”, ราชกิจจานุเบษา เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๗๖ วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๔๙๙ หน้า ๑๐๓๕-๑๐๓๖ “โดยที่มีพระราชประสงค์จะทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙....จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่างที่ทรงผนวช”

(๑๖) หัวข้อการประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ ๕๖/๒๔๙๙ วันอังคารที่ ๔ ธันวาคม ๒๔๙๙

(๑๗) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๑๐๓ วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๔๙๙ หน้า ๑๖๔๐-๑๖๔๑.

ความเป็นมาของคำว่า "นาถ" ใน "พระบรมราชินีนาถ" (เชิงอรรถ ๖-๑๐)



(๖) ตัวบทของ “ประกาศในการที่ออกพระนามสมเด็จพระบรมราชินีนารถ” อยู่ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๔ วันที่ ๔ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๖, น่า ๑๐.

(๗) “Return to Chulalongkorn” เป็นคำที่ทูตอังกฤษประจำกรุงเทพ (ซึ่งมีความเห็นวิพากษ์วิจารณ์รัชกาลที่ ๖ อย่างมาก) ใช้บรรยายนโยบายของรัชกาลที่ ๗ ในปีแรกที่ขึ้นครองราชย์ (ซึ่งเขาแสดงความชื่นชม) “an all round change in policy – it may best be described as a ‘return to Chulalongkorn’”, “[Prajadhipok’s] intention is to return as far as possible to the golden age of his father, King Chulalongkorn” ดูการบรรยายเรื่องนี้ใน Benjamin A Batson, The End of the Absolute Monarchy in Siam (OUP, 1984), p.36.

(๘) จากแฟ้ม “เงินปีสมเด็จพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ (๒๙ ตุลาคม ๒๔๕๓ – ๒๖ ธันวาคม ๒๕๐๐)” ในกรณีพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตน์นี้ ครม.ได้ตกลงตั้งเงินปีถวายเป็นจำนวน ๔,๐๕๘ บาท เงินเพิ่มอีกปีละ ๑๐๐ บาท รวมเป็น ๔,๑๕๘ บาท แต่ในปีต่อมา เมื่อมีการประสูติสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ ครม.ได้ให้กระทรวงการคลังไปพิจารณาว่าควรจะตั้งเงินปีถวายเท่าไร โดยร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ ตรวจสอบเทียบเคียงกับประเทศอื่น กระทรวงต่างประเทศจึงสั่งให้ทูตประจำอังกฤษและฝรั่งเศสสืบค้นข้อมูลเรื่องนี้ ซึ่งทูตประจำอังกฤษได้รายงานเงินปีของพระราชวงศ์อังกฤษ เดนมาร์ก สวีเดน และนอร์เวย์ส่งมา ส่วนทูตประจำฝรั่งเศสรายงานเงินปีของพระราชวงศ์เนเธอร์แลนด์และเบลเยี่ยมส่งมา กระทรวงการคลังได้สรุปเสนอว่า ควรตั้งเงินปีถวายปีละ ๓๐๐,๐๐ บาท เท่ากับที่รัชกาลที่ ๖ เคยได้รับเมื่อยังทรงเป็นพระยุพราช ในที่สุด ครม.ได้ตกลง (๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖) ให้ตั้งเงินปีถวายเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ ปีละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท ส่วนเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ที่เคยตกลงตั้งไว้ปีละ ๔,๑๕๘ บาท ให้เพิ่มเป็นปีละ ๕๐,๐๐๐ บาท ต่อมา เมื่อพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธร และเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ทรงประสูติ (๒๔๙๘ และ ๒๕๐๐) ก็ทรงได้รับการตั้งเงินปีถวายปีละ ๕๐,๐๐๐ บาท

(๙) จดหมายจากเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เรื่อง เงินปีสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ลงวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๔๙๔ จากแฟ้ม “เงินปีสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ (๑ สิงหาคม ๒๔๙๔ – ๒๒ มีนาคม ๒๔๙๕)” ครั้งนี้ ครม.ได้ตกลง (๕ กันยายน ๒๔๙๔) ตั้งเงินปีถวายตามกระทรวงการคลังเสนอ จำนวน ๖๐,๐๐๐ บาท เท่ากับพระนางเจ้ารำไพพรรณี

(๑๐) จดหมายจากนายกรัฐมนตรี ในตำแหน่งผู้บังคับบัญชาสำนักพระราชวัง ถึง นายกรัฐมนตรี เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เป็นสักขีในการประสูติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘ ในแฟ้มชื่อ “สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินี ทรงครรภ์ ประสูติราชกุมารีและราชกุมาร (พ.ศ. ๒๔๙๘ และ ๒๕๐๐)”

ในปี ๒๔๙๔ รัฐบาลพยายามจะกราบบังคมทูลให้ทรงเสด็จกลับมาประสูติในประเทศไทย แต่ไม่สำเร็จ หนังสือโต้ตอบระหว่างรัฐบาลกับราชสำนักเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ในแฟ้มชื่อ “สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี ทรงพระครรภ์ ประสูติราชกุมารีและราชกุมาร (พ.ศ. ๒๔๙๔)” ในหนังสือลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๔ ถึงผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ขณะนั้นยังเป็นกรมพระชัยนาทนเรนทร จะทรงสิ้นพระชนม์วันที่ ๗ มีนาคม ๒๔๙๔) จอมพล ป.เขียนว่า (การเน้นคำของผม)
บัดนี้ สำนักพระราชวังได้เสนอโครงการและวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการประสูติ ซึ่งได้เฝ้าเรียนพระปฏิบัติใต้ฝ่าพระบาททรงเห็นชอบด้วยแล้ว ไปเพื่อคณะรัฐมนตรีได้พิจารณา ข้าพระพุทธเจ้าได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาและเห็นชอบตามโครงการที่สำนักพระราชวังได้เสนอไปนั้นแล้ว

อนึ่ง ในโอกาสที่คณะรัฐมนตรีพิจารณาหารือเกี่ยวกับการพระราชพิธีนี้ ข้าพระพุทธเจ้าและคณะรัฐมนตรีได้รู้สึกปริวิตกกังวลเกี่ยวกับราชประเพณีต่างๆในการประสูติ จะปฏิบัติได้มิครบถ้วนสมพระเกียรติดังที่เคยมีมาแต่โบราณกาล เนื่องจากทรงประทับอยู่นอกราชอาณาจักร อันเป็นดินแดนห่างไกลประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่ง นอกจากความรู้สึกของข้าพระพุทธเจ้าและรัฐบาลของพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ยังปรากฏเสียงร่ำร้องของหมู่สมาชิกรัฐสภา ทั้งเสียงจากประชาชนโดยทั่วๆไป ได้มีความปรารถนาอย่างแรงกล้า ใคร่ขออัญเชิญเสด็จพระราชดำเนินมาประสูติในราชอาณาจักร....

หนังสือฉบับนี้ตอนแรกถูกร่างขึ้นในลักษณะหนังสือจากนายกรัฐมนตรีถึงในหลวง “ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม....ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส กราบบังคมทูลพระกรุณาถึงความปริวิตกกังวลเกี่ยวกับราชประเพณีต่างๆในการประสูติ จะปฏิบัติได้มิครบถ้วนสมพระเกียรติดังที่เคยมีมาแต่กาลก่อน....”

ความเป็นมาของคำว่า "นาถ" ใน "พระบรมราชินีนาถ" (เชิงอรรถ ๑-๕)



(*) บทความเรื่องแรกใน ๓ เรื่อง เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลจอมพล ป พิบูลสงคราม กับสถาบันกษัตริย์ ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษ ๒๔๙๐ บทความเรื่องที่ ๒ จะอยู่ภายใต้ชื่อ “กรณีหยุด แสงอุทัย ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นพระบรมราชานุภาพ ๒๔๙๙” และบทความเรื่องที่ ๓ ภายใต้ชื่อ “พิบูล-เผ่า กับ ราชสำนัก ๒๔๙๖-๒๕๐๐”

(๑) หัวข้อการประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ ๔๒/๒๔๙๙ วันพุธที่ ๑๒ กันยายน ๒๔๙๙ นี่เป็นหลักฐานการแสดงพระราชประสงค์จะทรงผนวชอย่างเป็นทางการครั้งแรก อย่างไรก็ตาม ในเดือนเมษายนปีเดียวกัน ได้มีข่าวจะทรงผนวชแพร่ออกมาโดยรัฐบาลไม่รู้ตัวล่วงหน้า หัวข้อการประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ ๑๗/๒๔๙๙ วันที่ ๔ เมษายน ๒๔๙๙ ได้บันทึกไว้ดังนี้
๑๑. เรื่องข่าวรับฟังจากสถานีวิทยุกระจายเสียงต่างประเทศที่เกี่ยวกับประเทศไทย ท่านนายกรัฐมนตรีได้เสนอข่าวรับฟังจากสถานีวิทยุกระจายเสียงต่างประเทศที่เกี่ยวกับประเทศไทย ๑) เรื่องกษัตริย์แห่งประเทศไทยจะทรงผนวช ๒) เรื่องเครื่องบินกองทัพอากาศไทยประสบอุบัติเหตุ ...........

มติ – รับทราบ สำหรับเรื่องกษัตริย์แห่งประเทศไทยจะทรงผนวชนั้น คณะรัฐมนตรียังมิได้รับทราบเรื่องนี้แต่ประการใด ให้สอบถามทางราชเลขาธิการต่อไป
ผมค้นไม่พบว่า “สถานทีวิทยุกระจายเสียงต่างประเทศ” ในที่นี้หมายถึงสถานีอะไร และไม่ปรากฏว่ามีการนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอีก ผมเชื่อว่าคงเป็นสถานีวิทยุบีบีซีหรือเสียงอเมริกา คือของฝ่ายตะวันตก มากกว่าของฝ่ายคอมมิวนิสต์ (จีนหรือรัสเซีย) ซึ่งรัฐบาลคอยรับฟังอยู่และบางครั้งมีการนำประเด็นที่สถานีเหล่านั้นกระจายเสียงมารายงานในที่ประชุมครม. เพราะถ้าเป็นสถานีวิทยุของฝ่ายคอมมิวนิสต์ น่าจะมีการระบุไว้ในบันทึกการประชุม

ข่าวลือเรื่องในหลวงจะออกผนวช คงมีอยู่ก่อนที่จะทรงแจ้งรัฐบาลอย่างเป็นทางการนี้ เพราะเมื่อรัฐบาลประกาศข่าวออกไปในวันนั้น หนังสือพิมพ์สยามนิกรรายวันได้รายงานว่า “ในหลวงแจ้งรัฐบาลทรงผนวช รัฐบาลเห็นชอบตั้งผู้สำเร็จฯ – ข่าวการทรงผนวชของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นที่กล่าวขวัญกันตลอดมาว่า จะทรงผนวชที่วัดบวรนิเวศนั้น บัดนี้ ได้มีการยืนยันการผนวชของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นที่แน่นอนแล้ว” (สยามนิกร วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๔๙๙ ขีดเส้นใต้ของผม) อย่างไรก็ตาม ผมไม่พบข่าวเรื่องนี้ในสยามนิกรฉบับก่อนหน้านี้ ในช่วงปีนั้น

(๒) จดหมายฉบับนี้และฉบับอื่นเกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในปี ๒๔๙๙ อยู่ในแฟ้มชื่อ “แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ตุลาคม ๒๔๙๙)” ในกลุ่มเอกสารเรื่อง “พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศ์” ซึ่งเก็บรักษาอยู่ที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี จดหมายถึงประธานสภาฉบับนี้และอีกฉบับหนึ่งที่อ้างถึงข้างล่าง ลงวันที่ ๑๘ กันยายน มีอยู่ในรายงานการประชุมสภาในวันนั้นๆด้วย

(๓) รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑๖/๒๔๙๙ (สามัญ) ชุดที่ ๓ วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ กันยายน ๒๔๙๙ แม้จะเป็นการประชุม “ลับ” ตามที่ครม.ขอ แต่วาระนี้ นอกจากประธานสภาอ่านจดหมายของจอมพลข้างต้นแล้ว ก็มีเพียงส.ส.คนหนึ่งถามว่า ระยะเวลาการเป็นผู้สำเร็จราชการที่ขอให้รับรองนี้ ระหว่างเมื่อไรถึงเมื่อไร ซึ่งจอมพลตอบว่า “ขณะนี้ทางรัฐบาลยังไม่สามารถจะแจ้งให้ได้ เพราะเหตุว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังไม่ได้กำหนดวันที่จะทรงผนวช เมื่อกำหนดวันแน่นอนประการใดแล้วก็จะได้แจ้งมาให้ทราบเพื่อขออนุมัติอีกครั้งหนึ่ง”

(๔) หัวข้อการประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ ๔๓/๒๔๙๙ วันจันทร์ที่ ๑๗ กันยายน ๒๔๙๙

(๕) ข้อความทั้งหมดเป็นลายมือบนกระดาษโน้ตแผ่นเล็กๆ ใต้คำว่า “นารถ” คำที่ ๒ มีขีดเส้นใต้ ๒ เส้น

Wednesday, September 13, 2006

สมัชชาแห่งชาติ ๒๕๑๖ (เชิงอรรถ ๖-๙)



(๖) ประชาธิปไตย ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๑๖.

(๗) ประชาธิปไตย ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๑๖.

(๘) ประชาธิปไตยและไทบรัฐรายงานข่าวมารุตทำหนังสือถึงประธานสภาทันทีในวันรุ่งขึ้น (๒๗) ขณะที่เดลินิวส์และบ้านเมืองรายงานวันถัดไป (๒๘) สยามรัฐ รายงานในวันที่ ๒๘ พฤศจิกายนเช่นกัน แต่เน้นที่การสัมภาษณ์ศิริเรื่องหนังสือของมารุต โดยศิริกล่าวว่าจะจัดประชุมตามคำขอหลังการประชุมสภาปรกติในวันที่ ๒๙ แต่ในส่วนข้อเรียกร้องนั้น “ไม่อาจจะออกความเห็นอะไรได้ เพราะต้องทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม ต้องแล้วแต่บรรดาสมาชิกว่าจะเห็นสมควรกันอย่างไร” สยามรัฐกล่าวว่าได้สอบถามสมาชิกสภาหลายคน “ปรากฏว่าส่วนใหญ่โดยเฉพาะสมาชิกที่เป็นข้าราชการประจำได้บอกว่า ยังไม่อาจจะตัดสินใจอะไรได้ ต้องแล้วแต่ความเห็นและมติของที่ประชุม”

(๙) ประชาธิปไตย ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๖.

สมัชชาแห่งชาติ ๒๕๑๖ (เชิงอรรถ ๑-๕)



(๑) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๖๑ วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๑๖, ฉบับพิเศษ หน้า ๑-๑๑๐ รายชื่อที่ตีพิมพ์ต่อจากตัวบทคำประกาศใน ราชกิจจาบุเบกษา ฉบับนี้ มีทั้งหมด ๒๓๔๙ รายชื่อ ซึ่งไม่ตรงกับรายชื่อที่ถูกประกาศในคืนวันที่ ๑๐ ธันวาคม ซึ่งมี ๒๓๔๖ รายชื่อ และในจำนวนนั้นมีรายชื่อบางคนที่เสียชีวิตแล้วรวมอยู่ด้วย ดังจะอธิบายข้างล่าง

(๒) ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๓๒ วันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๑๖

(๓) ข้อมูลที่ว่าศิริกำลังไปต่างประเทศ มาจากการบอกเล่าของสัญญา ใน วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย, สัญญา ธรรมศักดิ์ คนของแผ่นดิน, หน้า ๒๑๙ : “เข้าใจว่าพระองค์ท่านทรงเลือกผมด้วยพระองค์เอง ไม่ทราบเลยว่าทรงปรึกษาใครบ้างหรือเปล่า และไม่ได้ตรัสบอกผมก่อนแม้แต่คำเดียว ผมมารู้เอาพร้อมๆกับคนอื่น เมื่อท่านประกาศทางโทรทัศน์นั่นเอง....ผมไม่ได้เฉลียวใจอะไรที่คุณทวี แรงขำ ซึ่งเป็นรองประธานสภาอยู่ ถูกเรียกตัวเข้าวังในวันนั้น เพื่อรับสนองพระบรมราชโองการ ตอนนั้น ประธานสภาคือ พล.ต.ศิริ ศิริโยธิน แต่อยู่เมืองนอก” ผมไม่แน่ใจว่า ทรงมีปัญหาไม่แน่พระทัยในความร่วมมือของศิริด้วยหรือไม่ การลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของถนอม ดูเหมือนจะเป็นการตัดสินเองโดยไม่ได้รับการขอร้องหรือบีบบังคับจากใคร ซึ่งถ้าเช่นนั้น ก็ไม่น่าที่ศิริ ซึ่งเป็นลูกน้องถนอม ถ้ากลับจากต่างประเทศ จะไม่ยอมลงนามรับสนองฯการตั้งคนอื่นเป็นนายกแทน (ดูคำให้สัมภาษณ์ของถนอมเรื่องการลาออกจากตำแหน่งนายกต่อยศ สันตสมบัติ ใน อำนาจ บุคคลิกภาพ และผู้นำการเมืองไทย, ๒๕๓๓, หน้า ๙๘-๙๙ และการบอกเล่าผ่าน ทรงสุดา ยอดมณี ลูกสาวของเขา ใน กังหันต้องลม, ๒๕๔๒, หน้า ๓๖๖-๓๖๙ – ดูเหมือนว่า เฉพาะการลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดและการเดินทางไปต่างประเทศจึงเป็นพระราชประสงค์ของในหลวง) การที่ไม่ทรงรอศิริ จึงอาจเป็นเพียงพระราชประสงค์ที่ให้ได้นายกคนใหม่ทันทีเท่านั้น ไม่ใช่ไม่ไว้วางพระทัยในความร่วมมือของศิริ

(๔) สมัยหนึ่ง ฝ่ายซ้ายไทยมีการถกเถียงกันว่า ๒๔๗๕ มีความสำคัญเพียงใด ความเห็นที่ครอบงำขบวนการฝ่ายซ้ายจากทศวรรษ ๒๔๙๐ ถึงต้นทศวรรษ ๒๕๒๐ คือ ๒๔๗๕ ไม่ประสบความสำเร็จ ในแง่การล้มล้างระบอบเก่าลงอย่างสิ้นเชิง (สังคม-การเมืองไทย ยังเป็น “กึ่งเมืองขึ้น กึ่งศักดินา”) หลังทศวรรษ ๒๕๒๐ ปัญญาชนที่ได้ชื่อว่า “ทวนกระแส” (ปัญญาชน “ซ้าย”?) หันมาให้ความสำคัญกับ ๒๔๗๕ ในแง่ที่เป็น “จุดเริ่มต้น” ของ “ประชาธิปไตย” คือแม้จะไม่ได้ทำให้เกิดประชาธิปไตย แต่ก็ไม่ควรเอามาเป็นประเด็นวิจารณ์ เพราะประชาธิปไตย “ไม่ใช่การต่อสู้ฉากเดียวจบ” (ดู เสกสรรค์ ประเสริฐกุล, “ความจำเป็นทางประวัติศาสตร์ของการเคลื่อนไหว ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕”, วารสารธรรมศาสตร์, มิถุนายน ๒๕๒๕, หน้า ๖๒-๖๘) แต่ถ้าเรามองในแง่ของเป้าหมายรูปธรรมของ ๒๔๗๕ ที่ต้องการยกเลิกระบอบการเมืองที่พระมหากษัตริย์อยู่เหนือกฎหมาย – คือระบอบที่ทรงทำอะไรได้เอง เพราะเป็น “กฎหมาย” เอง หรือ “สมบูรณาญาสิทธิราช” – ถ้ามองในแง่นี้ ความล้มเหลว (หรือการ “ยังไม่สิ้นสุด” unfinished) ของ ๒๔๗๕ ก็มีมากกว่าที่ปัญญาชนหลังทศวรรษ ๒๕๒๐ จะยอมรับกัน ดูการอภิปรายเรื่องนี้อีกครั้งในตอนท้ายบทความนี้

(๕)
มาตรา ๖ ให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสองร้อยเก้าสิบเก้าคนซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด และมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์

สมาชิกภาพของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีวาระคราวละสามปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง

ถ้าตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่างลงเพราะเหตุอื่นใดนอกจากถึงคราวออกตามวาระ พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งบุคคลผู้มีคุณสมบัติตามวรรคหนึ่งเข้ามาเป็นสมาชิกแทนก็ได้ ในกรณีที่ได้ทรงแต่งตั้ง สมาชิกซึ่งเข้ามาแทนนั้นย่อมอยู่ในตำแหน่งได้เพียงครบตามวาระของผู้ซึ่งตนแทน

หยุด แสงอุทัย ถูกกล่าวหา (เชิงอรรถ)



(๑) ผมเริ่มสนใจกรณีหยุด แสงอุทัย ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ครั้งแรก จากการอ่านการเล่าเรื่องนี้อย่างสั้นๆ (๑ หน้า) ใน David E. Streckfuss, “The Poetics of Subversion: Civil Liberty and Lèse-Majesté in the Modern Thai State.” Ph.D. Thesis, University of Wisconsin-Madison, 1998, pp. 110-111. ข้อสรุปของ Streckfuss คล้ายกับที่ผมเขียนข้างต้นคือ กรณีหยุดถูกกล่าวหา แสดงว่า “การอภิปรายสาธารณะ (public discourse) เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์เริ่มเปลี่ยนไปสู่ลักษณะไม่เป็นเหตุเป็นผล (the insensible)” และ ใน ๓ หรือ ๔ ทศวรรษข้างหน้า การอภิปรายแม้แต่ในระดับเรียบๆไม่รุนแรงอย่างกรณีหยุดก็ “ถูกเบียดขับออกไปมากขึ้นๆจนเหลือเพียงข่าวลือและการแอบกระซิบกระซาบ” อย่างไรก็ตาม Streckfuss อ่านหลักฐานภาษาไทยบางชิ้นเกี่ยวกับกรณีหยุดไม่ถูกนัก และเขาไม่ได้สนใจเรื่องสถานะของกษัตริย์หลัง ๒๔๗๕ โดยตรง

(๒) ชาวไทย ๒๗ มกราคม ๒๔๙๙

(๓) สยามนิกร ๒๗ มกราคม ๒๔๙๙ ข้อมูลที่เหลือในย่อหน้านี้และย่อหน้าถัดไปทั้งหมดมาจากที่เดียวกัน

(๔) สยามนิกร ๙ ธันวาคม ๒๔๙๙

องค์พระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะ (เชิงอรรถ)



(๑) แน่นอน ยังเป็นปัญหาว่า จะมีกรณีอาญาอย่างไรที่กษัตริย์อยู่พ้นการฟ้องร้องยังโรงศาลแต่อาจถูกวินิจฉัยโดยสภาได้ เพราะตามมาตรา ๗ กำหนดว่า “การกระทำใดๆของกษัตริย์ต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดลงนามด้วย โดยได้รับความยินยอมของคณะกรรมการราษฎรจึ่งจะใช้ได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ” หมายความว่า กษัตริย์ไม่สามารถทำอะไรด้วยพระองค์เอง ซึ่งถ้าเช่นนั้น การกระทำในนามกษัตริย์ ย่อมควรจะถูกฟ้องร้องยังโรงศาลได้ เพียงแต่ฟ้องผู้ร่วมลงนาม ไม่ใช่ฟ้องกษัตริย์ ถ้าเช่นนั้นก็น่าจะเหลือกรณีที่กษัตริย์ทำด้วยพระองค์เองได้โดยไม่ต้องมีผู้ลงนามร่วม คือเรื่องที่มีลักษณะ “ส่วนตัว” ซึ่งจะไม่มีผู้ถูกฟ้องแทน ผมได้อภิปรายประเด็นนี้ใน “กรณีถวัติ ฤทธิเดช ฟ้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ”, ศิลปวัฒนธรรม, พฤษภาคม ๒๕๔๘, หน้า ๑๑๖-๑๑๘ และเชิงอรรถที่ ๑๙. ในบทความนั้นผมได้ยกกรณี “เรื่องภายในครอบครัว” ผมพบภายหลังว่าในการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญปี ๒๔๙๒ มีสมาชิกสภาบางคนยกตัวอย่างเรื่องพระมหากษัตริย์ขับรถชนคนตาย (“ตัวอย่างถ้าเผื่อท่านขับรถยนต์ไปชนเขาตายอย่างนี้”) รายงานการประชุมรัฐสภา ครั้งที่ ๑๔ วันเสาร์ที่ ๑๕ มกราคม ๒๔๙๒, หน้า ๑๘๕.

(๒) ในกฎหมายเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทกษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช ฉบับแรก “พระราชกำหนดลักษณะหมิ่นประมาท ด้วยการพูด ฤาเขียน ถ้อยคำเท็จออกโฆษณาการ รัตนโกสินทร ศก ๑๑๘” ไม่มีข้อกำหนดให้ “เคาพสักการะ” กษัตริย์ แต่มีข้อห้าม “ผู้ใดหมิ่นประมาทพระผู้เป็นเจ้าซึ่งดำรงสยามรัฐมณฑล” (มาตรา ๔) และ “ผู้ใด...ยุยงส่งเสริมให้อาณาประชาราษฎรทั้งหลายคิดเอาใจออกห่างจากความซื่อสัตย์สวามิภักดิ์ต่อพระผู้เป็นเจ้าซึ่งดำรงค์สยามรัฐมณฑล” (มาตรา ๕ ข้อ ๑) ในทำนองเดียวกัน ในกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗ ที่ออกต่อมา มีข้อห้าม “ผู้ใดทะนงองอาจ แสดงความอาฆาตมาดร้าย หรือหมิ่นประมาทต่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” (มาตรา ๙๘) และ “ผู้ใดกระทำให้ปรากฏแก่คนทั้งหลายด้วยประการใดๆ โดยเจตนา...เพื่อจะให้ขาดความจงรักภักดี หรือดูหมิ่นต่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” (มาตรา ๑๐๔) ซึ่งอาจตีความในทางกลับกันได้ว่า เป็นหน้าที่ตามกฎหมายของพลเมืองที่จะต้องมี “ความซื่อสัตย์สวามิภักดิ์” (ร.ศ. ๑๑๘) และ “ความจงรักภักดี” (ร.ศ. ๑๒๗) ต่อกษัตริย์ แต่ในปี ๒๔๗๐ ข้อความตอนนี้ของกฎหมายอาญา ร.ศ. ๑๒๗ ได้ถูกเปลี่ยนเป็น “เพื่อให้บังเกิดความเกลียดชังหรือดูหมิ่นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” คือตัด “ความจงรักภักดี” ออกไป ผมเห็นว่า การห้ามหมิ่นประมาท (ซึ่งห้ามกระทำไม่เพียงต่อกษัตริย์ แต่ต่อคนธรรมดาทั่วไป) ไม่เหมือนกับการกำหนดบังคับว่าต้องจงรักภักดีหรือเคารพสักการะ เท่าที่ผมทราบ ในสมัยสมบูรณญาสิทธิราช ไม่มีกฏหมายที่ระบุอย่างชัดเจนถึงระดับที่ว่า “องค์พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้”

(๓) รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๓๕/๒๔๗๕ วันศุกร์ที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๕, หน้า ๓๗๕-๓๗๗ (การเน้นคำเป็นไปตามต้นฉบับ) ตัวรายงานจริงพิมพ์ผิดข้อความของมาตรา ๓ ที่แก้ใหม่ ซึ่งประธานสภาอ่านให้สมาชิกฟังเพื่อลงคะแนน (ย่อหน้าสุดท้ายในรายงานที่อ้างข้างต้น) ว่า “พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้” คือตกคำว่า “องค์” ตอนต้นประโยค ผมแก้ไขเติมให้ถูกต้อง

(๔) ดูบันทึกของปรีดี พนมยงค์ ถึงพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ ใน ข่าวจัตุรัส ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๒๐ วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๒๕, หน้า ๑๖-๒๐ และใน ปรีดี พนมยงค์ มหาราชและรัตนโกสินทร์ (โครงการปรีดี พนมยงค์ กับสังคมไทย, ๒๕๒๕, หน้า ๔๕-๕๒. ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด นี่เป็นครั้งแรกที่มีการเปิดเผยการมีอยู่ของบันทึกฉบับนี้และของข้อเสนอ (ของพระยามโน) ที่จะประกาศยกย่องพระปกเกล้าเป็น “มหาราช” ในช่วงประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ๑๐ ธันวาคม ปรีดีเปิดเผยเรื่องนี้ในฐานะส่วนหนึ่งของการคัดค้านการที่มีผู้เสนอในช่วงปลายปี ๒๕๒๔ และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในต้นปี ๒๕๒๕ ให้ประกาศยกย่องพระพุทธยอดฟ้าเป็น “มหาราช” ในบันทึกฉบับวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ ปรีดีเขียนว่า
ข้าพเจ้าเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งในหลักการที่จะถวายพระเกียรติยศแด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯให้สูงยิ่งขึ้นเพราะทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่ประชาชนชาวไทยให้ได้มีระบบการปกครอง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนหลักมูลที่ก้าวหน้า

แต่การที่จะถวายพระเกียรติยศทรงเป็นเพียง “มหาราช” นั้น ข้าพเจ้าเห็นว่ามิใช่เป็นการเพิ่มพระเกียรติที่ทรงมีอยู่แล้วเท่านั้น หากยังเป็นการลดพระเกียรติที่พระองค์ทรงมีอยู่ก่อนแล้ว
(๕) ดูตัวอย่างการอธิบายแบบแก้ต่างความจำเป็นของการต้องมีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของนิธิ เอียวศรีวงศ์, “หนวดฮิตเลอร์กับการปกป้องสถาบันฯ” ๗ มีนาคม ๒๕๔๕ (การเน้นคำของผม): “ส่วนหนึ่งของเจตนารมณ์ของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นก็คือ ในฐานะสถาบันพระมหากษัตริย์ จะปล่อยให้องค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ต้องออกมาฟ้องคดีหมิ่นประมาทกับเอกชนย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะไม่งามด้วยประการทั้งปวง ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของรัฐในอันที่จะใช้กฎหมายฉบับนี้เพื่อป้องกันมิให้มีการละเมิดองค์พระมหากษัตริย์” สำหรับนักประวัติศาสตร์ชั้นนำ ที่พูดเรื่อง “ปัญหาเชิงโครงสร้าง” จนติดปาก การพูดถึงกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในลักษณะนี้นับว่าเป็นเรื่องเหลือเชื่อ กฎหมายนี้ไม่เพียงเป็นกฎหมายของสมบูรณาญาสิทธราช ซึ่งก็คือเป็นส่วนหนึ่งของระบอบกฎหมายที่ค้ำจุนโครงสร้างทางอำนาจแบบเผด็จการจารีตเท่านั้น หลัง ๒๔๗๕ การดำรงอยู่ของกฎหมายนี้ก็เป็นมากกว่าเพื่อเหตุผลไร้เดียงสาประเภทป้องกันความ “ไม่งาม” อันจะเกิดจากการที่กษัตริย์และราชวงศ์ต้องออกมาฟ้องคดีหมิ่นประมาท แล้วเหตุใดจึงควรจะถือเป็นเรื่อง “ไม่งามด้วยประการทั้งปวง” ถ้าจะมีการฟ้องร้องของราชวงศ์จริงๆ? ทำไมจึงเป็นเรื่อง “เป็นไปไม่ได้” ในเมื่อราชวงศ์ในประเทศประชาธิปไตยตะวันตกทั่วไป ก็ต้องอาศัยการฟ้องร้องนี้เช่นกัน? ถ้าราษฎรไทยรู้สึกเดือดร้อนจากการถูกละเมิด ต้องอาศัยกระบวนการฟ้องร้อง ทำไมเจ้าจึงทำไม่ได้? การเสนอให้รัฐใช้กฎหมายนี้ “ป้องกันมิให้มีการละเมิดองค์พระมหากษัตริย์” เป็นเรื่อง “งาม” กว่า? และที่ผ่านมา มองในเชิง “โครงสร้าง” และการปฏิบัติที่เป็นจริงในประวัติศาสตร์ กฎหมายนี้มีไว้เพื่อเหตุผลนี้จริงหรือ?

Monday, September 11, 2006

ความพยายามเข้าเฝ้าที่สวิตเซอร์แลนด์ (เชิงอรรถ)



(๑) การรับพระราชทานคำให้การที่สวิตเซอร์แลนด์โดยไม่มีฝ่ายจำเลยเข้าร่วมด้วย เป็นประเด็นหลักที่ปรีดี พนมยงค์ใช้เป็นข้ออภิปรายว่า การพิจารณาคดีสวรรคตทั้งหมดควรถือเป็นโมฆะ เพราะผิดกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาคดีอาญา แต่เขาเข้าใจผิดว่า การเข้าเฝ้ารับพระราชทานคำให้การที่สวิตเซอร์แลนด์โดยไม่มีจำเลยอยู่ด้วย รวมถึงกรณีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ความจริงคือ ในหลวงทรงพระราชทานคำให้การในประเทศไทยโดยมีฝ่ายจำเลยเข้าร่วมฟังและซักค้านด้วย เฉพาะกรณีสมเด็จพระราชชนนีเท่านั้นที่เข้าข่ายข้ออภิปรายของปรีดี ดู สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, “๕๐ ปี การประหารชีวิต ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘”, ฟ้าเดียวกัน ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ (เมษษยน-มิถุนายน ๒๕๔๘), หน้า ๖๖-๖๗ เชิงอรรถที่ ๒

Sunday, September 03, 2006

พระราชดำรัสให้การ ๒๔๙๓ (เชิงอรรถ)



(๑) ดูบทความของผมเรื่อง “ความพยายามเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชชนนีที่สวิตเซอร์แลนด์เพื่อสืบพยานคดีสวรรคต ๒๔๙๓

(๒) บันทึกการสอบสวนกรณีสวรรคตรัชกาลที่ ๘ (คณะกรรมการดำเนินงานฉลอง ๑๐๐ ปี ชาตกาล นายปรีดี พนมยงค์, ๒๕๔๖) ตัวบทพระราชดำรัสให้การของในหลวงองค์ปัจจุบันและพระราชชนนีอยู่ที่หน้า ๓๑๙-๓๕๓. ระยะเวลาที่ ๒ พระองค์ทรงให้การเป็นโดยประมาณเท่านั้น เช่น ไม่สามารถนับเวลาที่ใช้ระหว่างย้ายการไต่สวนจากห้องบรรทมมาที่ห้องรับแขกชั้นล่าง (ดูข้างหน้า) หรือ จาก ๑๕.๒๐ ถึง ๑๕.๔๐ นาฬิกา ซึ่งบันทึกว่าเป็นช่วงสมเด็จพระราชชนนีทรงให้การนั้น ความจริง ในตอนท้าย กรรมการได้กลับไปถามในหลวงองค์ปัจจุบันและในหลวงทรงตอบอีกหลายประโยค เป็นต้น ตัวอย่างการตีพิมพ์ซ้ำที่สำคัญ ได้แก่ สรรใจ แสงวิเชียร และ วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย, กรณีสวรรคต ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ (๒๕๑๗), หน้า ๘๒-๑๑๓.

(๓) ผมไม่สามารถหาต้นฉบับในการพิมพ์ครั้งแรกนี้ได้ ในที่นี้ใช้ฉบับที่ตีพิมพ์ซ้ำใน ดำริห์ ปัทมะศิริ, ในหลวงอานันท์ฯกับปรีดี (สำนักพิมพ์รัชดารมภ์, ๒๔๙๓), หน้า ๓๐๕-๓๑๕.

(๔) ดูการอภิปรายเหตุการณ์นี้ได้ใน “เราสู้ หลัง ๖ ตุลา” ซึ่งเป็น “ภาคผนวก” ของบทความเรื่อง “เราสู้ เพลงพระราชนิพนธ์การเมืองกับการเมืองไทยปี ๒๕๑๘-๒๕๑๙” ของผม ฉบับปรับปรุงใหม่ (ยังไม่ตีพิมพ์)

(๕) แน่นอนว่า บริบทของการทรงให้การ ๒ ครั้ง ต่างกันอย่างมาก ในกรณี “ศาลกางเมือง” เป็นการสอบสวนเพื่อหาคำตอบว่า “เกิดอะไรขึ้น” มากกว่าเพื่อเอาผิดใคร และแม้กรรมการที่ตั้งขึ้นจะมีความ “เป็นกลาง” หรือ “เป็นอิสระ” แต่ก็เป็นกรรมการที่รัฐบาลปรีดี ตั้งขึ้น ขณะที่คดีสวรรคตเป็นการฟ้องร้องและสืบพยานของฝ่ายรัฐบาลคณะรัฐประหาร ๒๔๙๐ และพวกนิยมเจ้า เพื่อกล่าวโทษเอาผิดต่อผู้ต้องหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล่าวโทษเอาผิดต่อปรีดี ในกรณีแรก ทรงให้การในฐานะพยานผู้มีส่วนรู้เห็นเหตุการณ์ กรณีหลังในฐานะพยานฝ่ายโจทก์ ผมคิดว่า ปัจจัยต่างๆเหล่านี้สามารถอธิบายความแตกต่างเปลี่ยนแปลงของคำถามของผู้ถาม ซึ่งมีส่วนต่อการกระตุ้น (soliciting) ให้ได้มาซึ่งคำตอบในลักษณะ “กลางๆ” กับลักษณะ “กล่าวหา” (accusatory) ที่ต่างกันของ ๒ กรณี แต่ไม่ถึงกับอธิบายความแตกต่างเปลี่ยนแปลงของคำตอบได้ทั้งหมด ปัจจัยด้านความแตกต่างในวิธีการบันทึกคำให้การของ ๒ กรณี (“ศาลกลางเมือง” ใช้การจดแบบ “คำต่อคำ” ทั้งคำถามและคำตอบ ศาลอาญาใช้การจดเฉพาะคำตอบ แล้วเรียบเรียงใหม่) ที่ผมอภิปรายข้างล่างก็เช่นเดียวกัน

(๖) คดีประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ (กรุงสยามการพิมพ์, ๒๕๒๓), หน้า ๗๓.

(๗) ปรีดีเสนอความเห็นนี้ในหนังสือ คำตัดสินใหม่กรณีสวรรคต ร.๘ (คือในคำฟ้องศาลของเขาในคดีหมิ่นประมาท ต่อหนังสือของชาลี เอี่ยมกระสินธ์) ผมได้อภิปรายเรื่องนี้ในบทความ “๕๐ ปี การประหารชีวิต ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘”, ฟ้าเดียวกัน ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ (เมษษยน-มิถุนายน ๒๕๔๘), หน้า ๖๖-๖๗ เชิงอรรถที่ ๒

(๘) สุพจน์ ด่านตระกูล, ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต (โรงพิมพ์สุวรรณภูมิ, ๒๕๑๗), หน้า ๑๒๑ สุพจน์ตีพิมพ์ย่อหน้า [2] ของพระราชดำรัสให้การ ในหน้า ๑๒๗ โดยเน้นข้อความในพระราชดำรัสที่ว่า “ต่อจากนั้น ฉันได้เดินไปห้องของฉัน เดินไปตามเฉลียงด้านหลัง ตรงเข้าไปในห้องนอนของฉัน แล้วก็เข้าไปในห้องเครื่องเล่น เดินเข้าๆออกๆอยู่ที่สองห้องนี้” และดูการอภิปรายเพิ่มเติมของเขาที่หน้า ๑๔๙ และ ๑๕๐-๑๕๑