เมื่อ ถวัติ เข้าเฝ้าขอขมา พระปกเกล้า (เชิงอรรถ)
(๑) ผมใส่เครื่องหมายคำพูดในที่นี้ เพราะความเป็น “ผู้นำกรรมกร” ของถวัติ เช่นเดียวกับ กรณี “ฟ้องพระปกเกล้า” ที่กล่าวถึงนี้ เป็นเรื่องที่ควรวิเคราะห์วิจารณ์ให้ดี (ซึ่งยังไม่มีใครทำ) ก่อนที่จะยอมรับเรื่องเล่าเชิง “ตำนาน” ที่ผ่านๆมาอย่างเบ็ดเสร็จง่ายๆ
(๒) วิษณุ เครืองาม และ บวรศักดิ์ อุวรรโณ, “พระราชฐานะของพระมหากษัตริย์ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร”, วารสารกฎหมาย, ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2520), หน้า 160 (การเน้นคำของผม): “เหตุที่ต้องบัญญัติมาตรานี้ขึ้นในรัฐธรรมนูญเพราะเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2476 นายถวัติ ฤทธิเดช และ ร.ต.ต.วาศ สุนทรจามร ได้ร่วมกันทำคำฟ้องขึ้นฉบับหนึ่งเป็นโจทก์กล่าวหาว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวหมิ่นประมาทนายถวัติ ฤทธิเดช อันเป็นความผิดอาญา ให้ลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา ซึ่งศาลในขณะนั้นก็มิได้รับฟ้อง....”
(๓) ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์, “๑๑๐ ปี ถวัติ ฤทธิเดช: ผู้นำกรรมกรคนแรก”, ศิลปวัฒนธรรม, พฤษภาคม ๒๕๔๗, หน้า ๑๔๒-๑๔๙ และ แรงงานวิจารณ์เจ้า: ประวัติศาสตร์ราษฎรผู้หาญกล้าท้าทายสมบูรณาญาสิทธิ์ไทย. มติชน, ๒๕๔๗.
(๔) ดูรายละเอียดใน สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, “กรณี ถวัติ ฤทธิเดช ฟ้อง พระปกเกล้า”, ศิลปวัฒนธรรม, พฤษภาคม ๒๕๔๘, หน้า ๑๐๐-๑๒๐ หลังจากบทความนี้ถูกตีพิมพ์แล้ว ผมได้พบข้อมูลเพิ่มเติมจำนวนหนึ่ง จึงได้เขียนบางตอนของบทความใหม่ โปรดดูฉบับแก้ไขได้ที่นี่
(๕) สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, “ร.๗ สละราชย์: ราชสำนัก, การแอนตี้คอมมิวนิสม์ และ ๑๔ ตุลา”, ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง (๒๕๔๔), หน้า ๑๒.
<< Home