Tuesday, June 27, 2006

ประหารชีวิตคดีสวรรคต (เชิงอรรถ ๒๖ - ๓๘)



(๒๖) พิมพ์ไทย วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘ รายงานว่า บุญสม ปัทมศรินภรรยากล่าวกับนักข่าวว่า “โธ่ ทำไมยิงเขาตั้ง ๓ ชุดไม่รู้ ปกติคุณบุศย์แกเป็นคนขี้โรคอยู่แล้ว รูปร่างก็อ้อนแอ้นยังกับผู้หญิง ดิฉันจะเข้าไปดูศพผู้ใหญ่เขาก็ห้ามไว้ กลัวดิฉันจะเป็นลม ดิฉันไปดูตอนเขามัดตราสังข์ เข้าไปกอดคว้า เห็นเนื้อตัวเหลวไปหมด หาชิ้นดีอะไรไม่ได้เลย คลำหามือไม่พบ เข้าใจว่าถูกยิงขาดไปด้วย”

(๒๗) พิมพ์ไทย วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘

(๒๘) เช้า วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘

(๒๙) พิมพ์ไทย วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘ “ร.ม.ต. เผ่า วิสาสะ – ในขณะที่เฉลียว ชิต บุศย์ กำลังถูกควบคุมตัวภายหลังจากที่ได้ฟังพระเทศน์แล้ว อธิบดีเผ่าได้ถือโอกาสเข้าไปสนทนาและปลอบโยนในห้องขังด้วยตนเองประมาณ ๑๐ นาที จึงได้กลับออกมานอกห้อง”

(๓๐) เช้า วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘

(๓๑) ดู สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, “ปรีดี พนมยงค์, จอมพล ป., กรณีสวรรคต และรัฐประหาร ๒๕๐๐”, ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง (๒๕๔๔), หน้า ๓๑-๓๕.

(๓๒) ดูจดหมายทั้งฉบับใน คำตัดสินใหม่กรณีสวรรคต ร.๘ (๒๕๔๓), หน้า ๒๑๗ ตอนต้นของจดหมาย ปรีดีได้ท้าวความถึงคำของจอมพล ป ที่ฝากผ่านมาในจดหมายของสังข์ว่า “ผมมีความยินดีมากที่ได้ทราบจากคำยืนยันของคุณว่า ท่านจอมพล ป. พิบูลสงครามมิได้เป็นศัตรูของผมเลย ท่านมีความรำลึกถึงความหลังอยู่เสมอและอยากจะเห็นผมกลับประเทศทุกเมื่อ” น่าเปรียบเทียบ ท่าทีของจอมพลต่อปรีดีนี้กับการอภิปรายในสภาเมื่อ ๑๒ เดือนก่อนหน้านั้น ที่อ้างในเชิงอรรถที่ ๖ ข้างต้น

(๓๓) พิมพ์ไทย วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘

(๓๔) หัวข้อการประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ ๕๓/๒๔๙๘ วันพุธที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๔๙๘

(๓๕) หัวข้อการประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ ๘๑/๒๔๙๓ วันจันทร์ที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๔๙๓

(๓๖) จอมพล ป.ให้การในฐานะพยานโจทก์เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ตามรายงานของ สยามนิกร ฉบับวันต่อมา เขาได้กล่าวต่อศาลตอนหนึ่งว่า “ก่อนเสด็จสวรรคตประมาณ ๒-๓ อาทิตย์ พล.ต.ต.เผ่า ได้มาบอกกับพยานว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสรับสั่งให้เข้าเฝ้า ซึ่งพล.ต.ต.เผ่าบอกแต่เพียงว่า ในหลวงต้องการพบ พลตรีเผ่า ได้ทราบมาจากในวัง ซึ่งพยานเองก็ไม่รู้ว่าเป็นใคร พยานได้บอกกับพล.ต.ต.เผ่าว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระประสงค์เช่นนั้น พยานก็ยินดีที่จะเข้าเฝ้า พยานได้ให้พล.ต.ต.เผ่า ไปตกลงว่าจะให้เข้าเฝ้าที่ไหนและเวลาไร แล้วพล.ต.ต.เผ่าก็ได้มาแจ้งให้ทราบ ซึ่งพยานได้ตอบไปว่า ที่ไหนก็ได้ ตามความสะดวกของพระองค์ เมื่อก่อนในหลวงสวรรคต ประมาณ ๑ สัปดาห์ ว่าจะให้เข้าเฝ้าที่วังสระปทุม หรือในวังหลวงที่พระที่นั่งบรมพิมาน พยานจำไม่ได้แน่ ต่อมาเรื่องก็เลยเงียบไป จนกระทั่งในหลวงสวรรคต” ผมตีความว่า ฝ่ายโจทก์พยายามสร้างภาพปรักปรำปรีดี ในลักษณะเดียวกับที่พวกนิยมเจ้าชอบสร้างข่าวลือที่รู้จักกันดีว่าปรีดีไม่พอใจในหลวงอานันท์อย่างมาก ต่อการที่ในหลวงอานันท์ทรงเสด็จเยาวราชโดยการนำเสด็จของควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คือพยายามจะบอกว่า ปรีดีอาจไม่พอใจที่ในหลวงอานันท์ทรงติดต่อกับจอมพล ป.เช่นเดียวกัน

(๓๗) หัวข้อการประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ ๘/๒๔๙๗ วันพุธที่ ๒๗ มกราคม ๒๔๙๗

(๓๘) หัวข้อการประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ 15/2497 วันพุธที่ 3 มีนาคม 2497