Sunday, June 18, 2006

ในหลวงอานันท์ (เชิงอรรถ ๔๔ - ๕๑)



(๔๔) หลวงจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์, “ชีวประวัติของเจ้าพระยามหิธร” ใน เรื่องของเจ้าพระยามหิธร ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) ณ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙, หน้า ๑๐๕

(๔๕) พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร, อัตตชีวประวัติ พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ณ พระเมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทรวาส ๑๕ ธันวาคม ๒๕๑๗, หน้า ๘๒-๘๓ ทรงนิพนธ์อัตตชีวประวัตินี้และพิมพ์แจกครั้งแรกในโอกาส ๘๔ พรรษาในปี ๒๕๑๒

(๔๖) เจ้าฟ้าประชาธิปก ราชันผู้นิราศ, หน้า ๗๒-๗๓ หลังจากสรุปรายงานการประชุมแล้ว “นายหนหวย” ได้ ขอให้สังเกตข้อความที่ผมขีดเส้นใต้ ซึ่งไม่มีอยู่ในเรื่องเล่าใน version ของใครเลย (เท่าที่ผมเคยเห็น)
ทูนกระหม่อมบริพัตรฯ.....ได้เสด็จเข้าร่วมประชุมพระบรมวงศานุวงศ์ในพระบรมมหาราชวังคืนนั้นด้วย ทูนกระหม่อมบริพัตรฯได้ปลอบโยนและให้กำลังใจแก่เจ้าฟ้าประชาธิปกซึ่งเป็นพระอนุชาตลอดเวลา เพราะทรงตระหนักแน่ในพระทัยแล้วว่า จะหนีตำแหน่งพระมหากษัตริย์ไม่พ้นแน่นอน ทูนกระหม่อมบริพัตรฯได้จูงพระกรและกอดพระศอเจ้าฟ้าประชาธิปก ออกทรงพระดำเนินกลับไปกลับมาหลายเที่ยวพร้อมกับซักซ้อมความเข้าใจกันบางประการ เพราะเจ้าฟ้าประชาธิปกทรงยืนกรานว่าไม่อาจรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์ได้ ในที่สุดทูนกระหม่อมบริพัตรฯก็รับสั่งว่า “ทูนกระหม่อมเอีอดน้อย เธอทำได้รับเถิดแล้วฉันจะช่วยทุกอย่าง” ก็เป็นอันว่าเจ้าฟ้าประชาธิปกตกลงพระทัยรับสืบราชบัลลังก์เป็นรัชกาลที่ 7 ของพระราชวงศ์จักรีอย่างไม่มีทางเลี่ยง
ทูนกระหม่อมบริพัตรฯซึ่งเมื่อตะกี้นี้กอดพระศอและจูงพระกรสมเด็จพระอนุชาอยู่หยกๆ ได้ทรุดพระองค์ลงกราบพระบาทเจ้าฟ้าประชาธิปกพระอนุชา ซึ่งบัดนี้ได้กลายเป็นพระเจ้าแผ่นดินไปแล้ว เจ้านายและข้าราชการที่เฝ้าอยู่ ก็พากันกราบถวายบังคมพระเจ้าอยู่พระองค์ใหม่โดยพร้อมเพรียงกัน เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับที่เก้าอี้เป็นที่เรียบร้อย ทูนกระหม่อมบริพัตรฯได้เสด็จเข้าไปคุกเข่าถวายบังคมพระเจ้าแผ่นดินใหม่อีก 3 ครั้ง แล้วกราบบังคมทูนว่า จะทรงใช้สอยในราชการสิ่งหนึ่งสิ่งใด ก็จะสนองพระเดชพระคุณในราชการสิ่งนั้นทุกอย่าง แต่ขอพระราชทานเลิกคิดว่าจะเป็น “ขบถ” เสียที เพราะได้รับหน้าที่นี้มา 15 ปีแล้วเบื่อเต็มที พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ทรงพระสรวล มีพระราชดำรัสว่าอนุญาตให้เลิกได้ เหตุที่รับสั่งเช่นนี้ก็เพราะมีเสียงลือกันตลอดรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯว่า ทูนกระหม่อมบริพัตรฯวางแผนจะก่อการขบถชิงราชบัลลังก์ตามที่เคยเป็นและเคยเห็นกันในเรื่องยี่เกจักรๆวงศ์ๆทั่วไป
ความจริง โดยไม่ตั้งใจและไม่รู้ตัว เรื่องเล่าของ “นายหนหวย” ข้างบนนี้ ชวนให้นึกถึงฉากใน “ยี่เกจักรๆวงศ์ๆ” เสียมากกว่า

(๔๗) ม.จ.พูนพิศมัย ดิศกุล, สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น ประวัติศาสตร์เปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕, มติชน ๒๕๔๓, หน้า ๑๙

(๔๘) พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์, เกิดวังปารุสก์ เล่ม ๒ สมัยประชาธิปไตย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ (คลังวิทยา, ๒๕๐๑), หน้า ๓๑-๓๓ (เน้นคำตามต้นฉบับ) จดหมายของรัชกาลที่ ๗ ลงวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๔๗๑ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์อ้างจดหมายฉบับนี้ในบริบทของการเล่าเรื่องว่าในปี ๒๔๗๒ หลังการสิ้นพระชนม์ของเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ รัชกาลที่ ๗ ทรงสถาปนาโอรสธิดาของเจ้าฟ้าภาณุรังษีที่ยังเป็น “หม่อมเจ้า” ให้เป็น “พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า” ในโอกาสเดียวกันก็ได้สถาปนาโอรสธิดาทั้ง ๓ พระองค์ของเจ้าฟ้ามหิดล (ต่อมาคือรัชกาลที่ ๘ และ ๙ และ “พระพี่นาง”), โอรสธิดาของเจ้าฟ้าจุฑาธุช, ของเจ้าฟ้าบริพัตร และของเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี ที่ยังเป็น “หม่อมเจ้า” ให้เป็น “พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า” ทุกพระองค์ ซึ่งในแง่นี้ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์เองจึงเป็นกรณียกเว้น คือก่อนหน้านี้ รัชกาลที่ ๖ ทรงสถาปนาพระองค์จาก “หม่อมเจ้า” ให้เป็น “พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า” แทนที่จะเป็นเพียง “พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า” พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์เขียนว่า “เป็นอันว่านับแต่วันนั้นเจ้านายที่ยังมีพระชนม์อยู่ ซึ่งเป็นโอรสหรือธิดาของเจ้าฟ้าชั้นทูลกระหม่อมก็เป็นพระองค์เจ้ากันหมด เป็นอันว่า ตามพระราชประสงค์ของทูลกระหม่อมอาเอียดน้อย [พระปกเกล้า – สมศักดิ์] ลูกเจ้าฟ้าที่แม่เป็นเจ้าก็ควรเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ แต่ลูกเจ้าฟ้าที่แม่มิได้เป็นเจ้าควรเป็นพระวรวงศ์เธอ ข้าพเจ้าก็เลยโดดเดี่ยวเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอไม่สมประกอบอยู่คนเดียว การที่เป็นเช่นนั้นไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัย ดังจะเห็นได้ในลายพระราชหัตถ์ที่มีพระราชทานมา...” (หมายถึงจดหมายรัชกาลที่ ๗ ข้างต้น)

(๔๙) เกิดวังปารุสก์ เล่ม ๒ สมัยประชาธิปไตย, หน้า ๔๓-๔๗

(๕๐) ดู “บันทึกลับ” การเข้าเฝ้าวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๔๗๕ ฉบับเต็ม ใน สนธิ เตชานันท์, แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๖๙-๒๔๗๕) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๔ ในงานพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๔๕. กรุงเทพ: สถาบันพระปกเกล้า ๒๕๔๕, หน้า ๓๑๔-๓๒๓ ข้อความส่วนที่อ้างนี้อยู่ที่หน้า ๓๑๘.

(๕๑) ดูเชิงอรรถที่ ๔๒ ข้างต้นประกอบ กลางปี ๒๔๖๙ พระปกเกล้าทรงเขียนบันทึกช่วยจำฉบับหนึ่งชื่อ “Problems of Siam” เพื่อแลกเปลี่ยนขอคำปรึกษาปัญหาต่างๆที่พระองค์คิดว่าสยามกำลังเผชิญอยู่ (เช่น ควรมี Parliament หรือไม่) กับพระยากัลยาณไมตรี (Francis B Sayre) ปัญหาอันดับแรกที่ทรงปรึกษาคือการสืบราชสันตติวงศ์ ทรงเห็นว่าข้อกำหนดของกฎมณเฑียรบาลมีปัญหา ๒ ประการ คือ (๑) การวางอันดับสืบราชสันตติวงศ์โดยถือตามลำดับยศของมารดา (จากลูกราชินี ไปที่ลูกเมียรองๆ ไปถึงลูกสนม) ซึ่งพระองค์มองว่า ยศของมารดาเหล่านี้มีการเลื่อนขึ้น-ลงได้ (“a concubine may be raised in rank at any time, AND the Queen herself may have her rank lowered according to the whims of the King. This, to my mind, creates very great possibilities of complications.”) ทรงเสนอทางออกให้เปลี่ยนเป็นลำดับตามยศโดยกำเนิดของมารดา (“I would suggest that priority of the sons be regulated by the birth ranks of the mothers. I mean priority be given to the sons born of a Princess, such as daughters of a King, then nieces of a King and so on.”) (๒) ทรงมองว่ากฎมณเฑียรบาลไม่ชัดเจนในประเด็นที่ว่าหากกษัตริย์ไม่มีลูก และน้องกษัตริย์คนที่จะได้เป็นกษัตริย์ในลำดับต่อไปก็สิ้นพระชนม์แล้ว ลูกของน้องคนนั้นทุกคนจะถือว่ามีสิทธิ์ในราชบัลลังก์หรือเฉพาะลูกที่เกิดจากเมียหลวงเท่านั้น ทรงยกตัวอย่างกรณีรัชกาลที่ ๖ ซึ่งไม่มีลูก และน้องชายคนถัดไป คือกรมขุนเพชรบูรณ์ (เจ้าฟ้าจุฑาธุช) สิ้นพระชนม์ไปก่อน ลูกของพระองค์คือวรานนท์ธวัช (ซึ่งไม่ใช่ลูกเมียหลวง) แต่รัชกาลที่ ๖ ทรงสั่งให้ข้ามเสีย ซึ่งแสดงว่ารัชกาลที่ ๖ ทรงถือว่าลูกทุกคนของน้อง ไม่ว่าจะเกิดจากเมียหลวงหรือไม่ มีสิทธิ์สืบราชสมบัติตามข้อกำหนดของกฎมณเฑียรบาล จึงต้องเจาะจงสั่งให้ข้าม (The case has really occurred which shows that in the late King’s mind ALL the sons could succeed. In my case the son of the Prince of Petchabun was passed over by the expressed wish of the late King, Now many people find that the idea that ALL the sons could succeed was objectionable owing to the fact that some Princes have the most disreputable minor wives who are really not fitted to be the mothers of Kings.”) นอกจากนั้น ทรงปรึกษาว่า ใครควรมีสิทธิ์ในการเลือกกษัตริย์องค์ต่อไป เฉพาะกษัตริย์ปัจจุบันหรือควรให้เจ้านายและเสนาบดีช่วยเลือกด้วย เป็นต้น พระยากัลยาณไม่ตรีตอบว่า ในความเห็นของเขา เนื่องจากกษัตริย์สยามมีอำนาจเด็ดขาด ความรุ่งเรืองของประเทศจึงขึ้นอยู่กับระดับความสามารถของกษัตริย์ ดังนั้น หลักการเลือกกษัตริย์ควรมีลักษณะยืดหยุ่นที่จะประกันให้ผู้ที่มีความสามารถที่สุดเข้มแข็งที่สุดในหมู่เจ้านายไม่ว่าจะมียศศักดิ์อะไรได้เป็นกษัตริย์ ไม่ใช่ผู้ที่บังเอิญมียศอยู่ในอันดับแรกตามข้อกำหนดอย่างตายตัวของกฎหมายขณะนั้น เขาเสนอว่าความรับผิดชอบในการเลือกกษัตริย์องค์ต่อไปไม่ควรอยู่กับกษัตริย์องค์ปัจจุบันเท่านั้น ควรให้องคมนตรีสภาได้แนะนำเห็นชอบด้วย เขาเสนอให้เลิกกฎมณเฑียรบาลที่ใช้อยู่และเขียนใหม่ให้สอดคล้องกับหลักการที่เขาเสนอ การแลกเปลี่ยนครั้งนี้ไม่ได้นำไปสู่การปฏิบัติแต่อย่างใด (เช่นแก้กฎมณเฑียรบาล) ดูตัวบทบันทึกช่วยจำของพระปกเกล้า, คำตอบของพระยากัลยาณไมตรี และความเห็นของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ซึ่งไม่ได้พูดถึงปัญหาการสืบราชสันตติวงศ์เลย) ใน สนธิ เตชานันท์, แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย”, หน้า ๑๖๗-๑๙๗.