Saturday, June 17, 2006

ในหลวงอานันท์ (เชิงอรรถ ๒๑ - ๒๙)



(๒๑) หจช., ร.๖ ว.๑/๓ ตั้งรัชทายาท (๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๓)

(๒๒) หจช., ร.๖ ว.๑/๒ รัชทายาท (๒๘ ตุลาคม – ๒๔ ธันวาคม ๒๔๕๓) ฉบับที่เหลืออยู่ความจริงเป็นฉบับ “ร่าง” ไม่ใช่ฉบับ “จริง” ที่มีลายพระนามของรัชกาลที่ ๖ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ และเสนาบดีคนอื่นๆกำกับ แต่ผมเชื่อว่า น่าจะเป็น “ร่างสุดท้าย” พูดอีกอย่างหนึ่งคือ เป็นสำเนาฉบับจริงที่ยังไม่มีลายเซ็นกำกับเท่านั้น

(๒๓) “พอเสร็จงานบรมราชาภิเษกลงแล้ว ฉันก็ได้ลงมือร่างพระราชกฤษฎีกาเรื่องตั้งรัชทายาทให้กรมหลวงเทววงศ์ทรงช่วยแก้เกล้าประโยคประทานให้สละสลวย” (ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖, หน้า ๑๕๘) ใน หจช. มีต้นฉบับร่างที่เป็นลายพระหัตถ์อยู่ด้วย แต่ไม่ใช่ของรัชกาลที่ ๖ เป็นไปได้ว่าจะเป็นของกรมหลวงเทวะวงศ์

(๒๔) ประโยคนี้อยู่ในการสรุปเนื้อหาของ “พระราชกฤษฎีกา” ตอนนี้ ใน ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖, หน้า ๑๕๘.

(๒๕) กรณีหลังนี้ “กฤษฎีกา” ได้อ้างถึงพระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ ๕ ลงวันที่ ๒๔ มกราคม ร.ศ.๑๑๓ (ผมไม่เคยเห็นพระราชหัตถเลขานี้) ใน ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ (หน้า ๑๕๙) ทรงอธิบายข้อความตอนนี้ของ “กฤษฎีกา” ว่า
เหตุใดพระเจ้าหลวงจึ่งต้องทรงมีคำสั่งเช่นนี้ ผู้ที่ไม่รู้เรื่องเดิมคงจะแลไม่เห็นเปนแน่ เพราะเมื่อฉันเปนรัชทายาทของทูลกระหม่อมอยู่แล้ว
ทำไมจะต้องสั่งด้วยว่าให้เป็นผู้ถวายน้ำทรงพระบรมศพ? ขออธิบายว่า เมื่อทรงเขียนพระราชหัตถเลขาฉบับนั้น ฉันยังหาได้เปนยุพราชไม่, เพราะทูลกระหม่อมใหญ่ [เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิส] ยังมีพระชนม์อยู่ แต่โดยเหตุที่ทูลกระหม่อมใหญ่ไม่ใคร่จะเอื้อในการเข้าไปเฝ้าและพยาบาลทูลกระหม่อมในเวลาที่ทรงพระประชวรอยู่, ทูลกระหม่อมท่านจึ่งทรงหาว่าทูลกระหม่อมใหญ่มิได้มีคาวมจงรักภักดีต่อพระองค์, เปนแต่คอยเปนเจ้าแผ่นดินเท่านั้น, และทรงหาความว่าจะทอดทิ้งพระบรมศพ, จึ่งได้ทรงสั่งไว้ให้ฉันเปนผู้ถวายน้ำสรง
ก่อนหน้านั้น ทรงบันทึกถึงเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิสว่า “ฉันจำได้ว่าทูลกระหม่อมได้เคยตรัสแก่ฉันถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิสว่า. ‘ชายใหญ่เขามุ่งหมายจะเปนเจ้าแผ่นดินแต่สำหรับจะกินกับเสพย์เมถุน’” (ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖, หน้า ๕๕)

(๒๖) หจช., ร.๖ ว.๑/๒ รัชทายาท (๒๘ ตุลาคม – ๒๔ ธันวาคม ๒๔๕๓)

(๒๗) ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖, หน้า ๑๕๙-๑๖๐.

(๒๘) ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖, หน้า ๑๖๐-๑๖๑. “พระราชกฤษฎีกา” ที่เก็บอยู่ที่ หจช. เป็นฉบับร่าง จึงไม่มีรายพระนามเหล่านี้ (ดูเชิงอรรถที่ ๒๓ ข้างต้น) แต่มีข้อความต่อไปนี้ “เพื่อจะให้เปนพยานมั่นคงว่า ผู้ซึ่งนั่งอยู่ในที่นี้ ทราบความประสงค์ของข้าพเจ้าอันกล่าวมาแล้วนี้ชัดเจนแล้ว จึงให้ลงนามไว้ในหนังสือนี้เปนสำคัญ เก็บรักษาไว้ในกรมราชเลขานุการ เปนหลักฐานสืบไป”

(๒๙) หจช., ร.๖ ว.๑/๒ รัชทายาท (๒๘ ตุลาคม – ๒๔ ธันวาคม ๒๔๕๓)