Sunday, June 18, 2006

ในหลวงอานันท์ (เชิงอรรถ ๓๐ - ๓๙)



(๓๐) ทำให้มีข่าวลือว่าทรงถูกลอบวางยาพิษ (ดู พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์, เจ้าชีวิต, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๔, คลังวิทยา ๒๕๑๗ หน้า ๖๔๐-๖๔๒) จังหวะเวลา (timing) ของการสิ้นพระชนม์ของเจ้าฟ้าจักรพงษ์นี้มีบางประเด็นที่เกี่ยวกับการสืบราชสมบัติ ซึ่งเท่าที่ผมทราบ ไม่มีการพูดถึงกันมาก่อน คือ ทรงสิ้นพระชนม์ไม่นานหลังจากทรงหย่ากับหม่อมคัทริน และมีชายาองค์ใหม่คือ ม.จ.หญิงชวลิตโอภาส ธิดากรมหลวงราชบุรี (๒๔๖๒) นัยยะของการหย่าเมียฝรั่งและมีเมียใหม่คนไทยคือ หากรัชกาลที่ ๖ ยังคงไม่มีพระโอรสต่อไป ความเป็นไปได้ที่เจ้าฟ้าจักรพงษ์จะขึ้นเป็นกษัตริย์ก็สูงขึ้น เพราะบัดนี้ไม่ได้มีเมียฝรั่งแล้ว (ดังที่ได้เล่ามาข้างต้นว่า แม้จะทรงถูกตั้งเป็นรัชทายาทตั้งแต่ต้นรัชกาล แต่การมีเมียฝรั่งเป็นปัญหาที่บรรดาเจ้านายชั้นสูงไม่สบายใจกัน) ยิ่งกว่านั้น หากมีลูกชายจากเมียใหม่คนไทย ลูกผู้นั้นก็ย่อมจะได้เป็นรัชทายาทด้วยทันที (ไม่ถูกห้ามจาก “คำปฏิญญา” ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๓ แบบจุลจักรพงษ์) ทั้งหมดนี้อาจจะเป็นความบังเอิญล้วนๆ แต่เมื่อนึกถึงปัญหาระหว่างรัชกาลที่ ๖ กับ “น้องชายเล็ก” ตั้งแต่ต้นรัชกาล โดยเฉพาะในเรื่องตั้งรัชทายาท (ที่ได้เล่าไปแล้ว) ก็ชวนให้คิดไปในทางข่าวลือหรือทฤษฎีสมคบคิด (Conspiracy Theory) ได้ไม่น้อย ยิ่งกว่านั้น น่าสังเกตด้วยว่า หลังจากเจ้าฟ้าจักรพงษ์หย่ากับหม่อมคัทรินแล้ว ได้ขออนุญาตรัชกาลที่ ๖ แต่งงานกับ ม.จ.หญิงชวลิต แต่รัชกาลที่ ๖ ไม่อนุญาต ทำให้บาดหมางกันขึ้น จนกระทั่งหลังจากเจ้าฟ้าจักรพงษ์สิ้นพระชนม์ รัชกาลที่ ๖ จึงได้ยอมรับ ม.จ.หญิงชวลิตเป็นสะใภ้หลวง (เจ้าชีวิต, หน้า ๖๓๘-๖๓๙ และ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์, เกิดวังปารุสก์ เล่ม ๑ สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๙, คลังวิทยา ๒๕๒๒ หน้า ๒๑๙, ๒๒๙-๒๓๑, ๒๔๔)

(๓๑) ดูเชิงอรรถที่ ๔๘ ข้างล่าง

(๓๒) ดู เจ้าชีวิต, หน้า ๖๔๕-๖๕๕.

(๓๓) ตีพิมพ์อยู่ใน เรื่องของเจ้าพระยามหิธร ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) ณ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙, หน้า ๑๔๔-๑๔๕.

(๓๔) หจช., ร.๖, ว.๒/๒๒ กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ (๕ ก.พ. ๒๔๖๖ – ๙ พ.ย. ๒๔๖๗)

(๓๕) ดูตัวบทของจดหมายใน เกิดวังปารุสก์ เล่ม ๑, หน้า ๓๔๕-๓๔๗.

(๓๖) มาตรา ๕ เพิ่มวรรคสอง “แต่การสมมุติเจ้านายเชื้อพระบรมราชวงศ์ให้เป็นพระรัชทายาทเช่นนี้ให้ถือว่าเป็นเฉพาะพระองค์ของพระรัชทายาทพระองค์นั้น”

มาตรา ๗ เพิ่มวรรคสอง “อนึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพและพระราชสิทธิที่จะทรงประกาศยกเว้นเจ้านายเชื้อพระบรมราชวงศ์พระองค์ใดพระองค์หนึ่งออกเสียจากลำดับสืบราชสันตติวงศ์ได้”

มาตรา ๙ ข้อความเดิมที่ รัชกาลที่ ๖ ร่างไว้ เกี่ยวกับลำดับขั้นการสืบราชสันตติวงศ์ หลังจาก น้องร่วมมารดาของกษัตริย์หรือลูกของน้องร่วมมารดา หมดสิ้นแล้ว ให้ข้ามไปที่ “สมเด็จพระอนุชาต่างพระชนนี” หรือลูกของพระอนุชาเหล่านั้น กรรมการเสนอให้เพิ่มคำว่า “สนเด็จพระเชษฐาหรือสมเด็จพระอนุชาต่างพระชนนี” เพราะในลำดับขั้นต่อไป รัชกาลที่ ๖ กำหนดให้ไปที่ “พระเจ้าพี่ยาเธอและพระเจ้าน้องยาเธอ” หรือลูก กรรมการจึงเสนอว่าควรเพิ่มเพื่อให้สอดคล้องกันด้วย (คือถ้าเป็นลูกต่างมารดาของกษัตริย์ ให้นับทั้งพี่และน้อง ไม่ใช่เริ่มนับที่น้อง เหมือนกรณีลูกร่วมมารดาของกษัตริย์ เพราะพี่ถือว่าถูกกษัตริย์ “ข้าม” มาแล้ว) ดูเชิงอรรถที่ ๓ และ ๔ ข้างต้นประกอบ

มาตรา ๑๑ ผู้ถูกยกเว้นจากลำดับสืบราชสันตติวงศ์ เพิ่ม “(๖) เป็นผู้ที่ได้ถูกประกาศยกเว้นออกเสียจากลำดับสืบราชสันตติวงศ์”

(๓๗) หลายปีต่อมา พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ทรงตีความมาตรา ๑๑ (๔) ว่า “ได้แก่แม่และพ่อของข้าพเจ้าอย่างไม่มีปัญหา” และมาตรา ๑๒ ว่า “ได้แก่ตัวข้าพเจ้าเองและลูกหลานที่อาจจะมีต่อไป แม้ข้าพเจ้าได้เสกสมรสกับสตรีไทยแท้” เกิดวังปารุสก์ เล่ม ๑, หน้า ๓๙๖ และดู เจ้าชีวิต, หน้า ๖๕๖-๖๕๗.
ต้นฉบับอยู่ที่ หจช., ร.๗ บ.๑.๑/๒ เรื่องรัชกาลที่ ๖ สวรรคตและตั้งพระเจ้าแผ่นดินขึ้นแทน (๒๖ พ.ย. ๒๔๖๘) เท่าที่ผมทราบ รายงานการประชุมนี้ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกใน พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ รัฐสภา วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๒๓. กรุงเทพ: รัฐสภา, ๒๕๒๔, หน้า ๕๙-๖๐.

(๓๙) ดูเชิงอรรถที่ ๘ ข้างต้น ความจริง เจ้าฟ้าบริพัตรเพิ่งได้รับแต่งตั้งจากรัชกาลที่ ๗ ให้เป็นเสนาบดีกลาโหมในปี ๒๔๖๘ แล้วย้ายมาเป็นเสนาบดีมหาดไทยในปี ๒๔๗๑ ตำแหน่งจริงๆในวันสวรรคตรัชกาลที่ ๖ คือเสนาธิการทหารบก ทั้งยังเป็นเพียงกรมหลวง เพิ่งเป็นกรมพระ ในเดือนมีนาคม ๒๔๖๘ (ปฏิทินเก่า) ดู ทิพวัน บุญวีระ, “พระประวัติสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต” ใน บริพัตรสุขุมพันธ์อนุสรณ์ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๔๒. กรุงเทพ: เลิศลักษณ์การพิมพ์, ๒๕๔๒.