ปัจฉิมลิขิต บทความ “พระบารมีปกเกล้า: พระสุรเสียงราชินีบนเวทีพันธมิตร”
(1) ดุรายงานข่าวทางเว็บไซต์ผู้จัดการ เมื่อเวลา 9.12 น. ที่นี่
(2) ดุรายงานข่าวทางเว็บไซต์ผู้จัดการ เมื่อเวลา 16.21 น. ที่นี่ น่าสังเกตว่า ตามรายงานข่าว ผู้บาดเจ็บล้วนแต่เป็นพันธมิตร ไม่มีตำรวจ และผู้อำนวยการโรงพยาบาล “กล่าวอย่างหนักแน่นว่า รพ.ดูแลรักษาผู้ป่วยทุกคนอย่างเต็มที่ ไม่เลือกศาสนา หรือจะมีความเห็นที่แตกต่างกัน เพราะพวกเราคือหมอ จึงต้องมีจริยธรรมและให้สิทธิ์รักษาผู้ป่วยอย่างเท่าเทียมกัน” นั่นคือไม่ได้หมายถึง “เท่าเทียมกัน” ทั้งฝ่ายพันธมิตรและเจ้าหน้าที่ (ซึ่งไม่มีรายงานว่ารักษาที่นั่นอยู่แล้ว) ทำให้เข้าใจว่า เงินพระราชทานดังกล่าวยังคงสำหรับผู้บาดเจ็บพันธมิตรเท่านั้น
(3) มติชนออนไลน์ 10 ตุลาคม 2551 ที่นี่
(4) มติชนออนไลน์ 10 ตุลาคม 2551 (เว็บไซต์เดียวกับเชิงอรรถที่ 3) ผมเห็นว่า สามารถมองได้ว่า การพระราชทานเงินครั้งแรกสุด เป็นสิ่งที่ฝ่ายราชสำนักตระหนักในเวลาต่อมาว่า เป็นความผิดพลาด ในวันต่อๆมา จึงมีความพยายามที่จะแสดงออกในลักษณะ “ช่วยเหลือทุกฝ่าย” มากขึ้น ทั้งนี้รวมถึงในเหตุการณ์ปะทะในระยะ 2 ปีต่อมา (ครั้งล่าสุดในเดือนพฤษภาคม 2553) แต่ความพิเศษเฉพาะของ “ความช่วยเหลือ” ต่อพันธมิตร เป็นสิ่งที่ชัดเจนเกินกว่าจะปฏิเสธได้ กรณี น.ส.อังคณา “น้องโบว์” ของพันธมิตร ทีกำลังจะกล่าวถึง มีผู้นำมาเปรีบบเทียบกับกรณี “น้องเกด” น.ส.กมนเกด อัคฮาด ทีเป็นพยาบาลในการชุมนุมของ “เสื้อแดง” ที่เสียชีวิตในเดือนพฤษภาคม 2553
(5) “สารวัตรจ๊าบ” ได้รับโปรดเกล้าฯพระราชเพลิงศพเช่นกัน โดยจัดงานในวันถัดมา (14 ตุลาคม) แต่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานในพิธี
(6) รวบรวมตรวจสอบจากรายงานข่าวหนังสือพิมพ์วันที่ 14 ตุลาคม 2551 หลายฉบับคือ มติชน, ผู้จัดการ, โพสต์ทูเดย์, แนวหน้า, กรุงเทพธุรกิจ และ The Nation.
(7) วันที่ 12 ตุลาคม – คือก่อนวันเสด็จพระราชทานเพลิงศพ 1 วัน – มีการชุมนุมย่อยของกลุ่ม “นปช.” ที่สนามหลวง ฉากผ้าหลังเวที เป็นรูปวาดขนาดใหญ่ คล้ายเท้าของไดโนเสาร์ (?) มีแหวนเพ็ชรสีน้ำเงินเม็ดใหญ่สวมอยู่นิ้วหนึ่ง มีข้อความบรรยายว่า “ประชาธิปไตยอยู่ใต้อุ้งเท้าใคร? เมื่อกบฏได้รับการปกป้อง”
(8) รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 1 ครั้งที่ 29 (สมัยสามัญนิติบัญญัติ), วันที่ 20 พฤศจิกายน 2551, หน้า 127. ดาวน์โหลดได้ที่นี่
(9) มติชนออนไลน์ 13 ธันวาคม 2551 ที่นี่
(10) ดูคลิป “ไฮด์ปาร์ค” ที่มีชื่อเสียงส่วนนี้ ได้ที่ YouTube หลายหน้าเว็บ เช่น ที่นี่
(11) ดูรายงานข่าวที่เว็บไซต์ ผู้จัดการร ที่นี่ ผมไม่พบว่า มีรายงานเรื่องนี้ทางสื่ออื่น นอกจากผู้จัดการซึ่งเป็นสื่อของกลุ่มพันธมิตร ชิงชัย ได้เข้าเฝ้าในวันที่ 11 สิงหาคม ผมไม่แน่ใจ แต่ดูเหมือนการเข้าเฝ้าครั้งนี้ อาจจะเป็นการพระราชทานพระบรมราชวโรกาสเป็นการส่วนพระองค์ และไม่ใช่ส่วนหนึ่งของประชาชนทุกหมู่เหล่าที่เข้าเฝ้าตามประเพณีในวันที่ 11 สิงหาคม เพราะชิงชัยต้องนำภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ 3-4 ภาพมาถวายด้วย แต่เรื่องนี้ ผมหาข้อมูลยืนยันไม่ได้
(12) สุทธิชัย หยุ่น กล่าวถึงจดหมายนภัส ทาง twitter ในเช้าวันที่ 17 พฤษภาคม ตัวจดหมายดูเหมือนจะเริ่มเผยแพร่ทาง facebook ในเย็นวันก่อนหน้านั้น (ดูที่นี่) จดหมายได้รับการตีพิมพ์ใน The Nation วันที่ 19 พฤษภาคม “Open letter to CNN”, The Nation, 19 May 2010 ที่นี่